เมนู

อานิสงส์การเจริญกายคตาสติ 10 ประการ



[317] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้
ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์
10 ประการนี้ คือ
(1) อดกลั้นต่อความยินร้ายและความยินดีได้ ไม่ถูกความยินร้าย
ครอบงำ ย่อมครอบงำความยินร้ายที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย.
(2) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาด
กลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย.
(3) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด. และสัตว์
เสือกคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิด
ขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เผ็ดร้อน ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่
ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้.
(4) เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันเกิดมีในมหัตคตจิต เครื่องอยู่สบายใน
ปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก.
(5) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง
นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่น
ดินเหมือนน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปใน
อากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์
มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้.

(6) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกล
และที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.
(7) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมี
โทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมี
โมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่
ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็น
มหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้ว
ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.
(8) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัป
บ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุ
เท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น
เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวย
สุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินี้แล้ว จึงเข้า
ถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้.

(9) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี
ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วง
จักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน
บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้.
(10) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ
แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 10 ประการได้
ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง
ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ กายคตาสติสูตรที่ 9

อรรถกถากายคตาสติสูตร



กายคตาสติสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคหสิตา ได้แก่ อาศัยกามคุณ
ความดำริอันแล่นไป ชื่อว่า สรสงฺกปฺปา (ความดำริพล่าน) ก็ธรรมชาติ
ชื่อ สร เพราะพล่านไป อธิบายว่า แล่นไป. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ความว่า
ในอารมณ์อันเป็นภายในเท่านั้น. บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด
(พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง. เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา)
กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็น
อันกล่าวถึงวิปัสสนา ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะ และวิปัสสนา ด้วยบท
ทั้งสอง. ตรัสกายานุปัสสนา 14 อย่าง ในมหาสติปัฏฐาน มีคำว่า ปุน จ
ปรํ ฯเปฯ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ กายคตํ สตึ1 ภาเวติ
(ข้ออื่นยังมีอีก
ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญกายคตาสติ อย่างนี้แล) ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า (กุศลธรรม) ย่อมเป็นอัน
รวมลงในภายในแห่งภาวนาของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นี้มีอธิบาย
ว่า ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะส้องเสพ (คือได้) วิชชาด้วยอำนาจสัมปโยค
ดังนี้บ้าง. ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะเป็นไปในส่วนวิชชา คือในกลุ่มวิชชา
ดังนี้บ้าง. ในกุศลธรรมอันเป็นส่วนวิชชานั้น วิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ 1
มโนมยิทธิ 1 อภิญญา 6
ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อแรก แม้ธรรมทั้งหลายที่
สัมปยุตด้วยวิชชา 8 เหล่านั้น ก็เป็นส่วนแห่งวิชชา. (วิชชาภาคิยะ).
ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อหลัง วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงวิชชาเดียว ใน
บรรดาวิชชา 8 เหล่านั้น ชื่อว่าวิชชา วิชชาที่เหลือทั้งหลายเป็นส่วนแห่ง-
1. ม. กายคตาสตึ.